12/24/2550

คาแร็คเตอร์ช้างน่ารัก

ไดรับโจทย์ให้ทําช้างตัวนึงขึ้นมา โดยเน้นให้กลุ่มเป่าหมายจําได้ ไม่อยากอธิบายเยอะ ไปดูเอาขําๆกันดีกว่า ไว้เสก็ตได้เพิ่มก็จะมาลงให้ดูกันเพลินๆ
-------------------------------------------------------------------


-------------------------------------------------------------------


เรื่องคาแร็คเตอร์ส่วนตัวผมว่ามันเป็นเรื่องของเสน่งห์อ่ะครับ ไม่จําเป้นต้องสวยต้องหล่อก็มีคนชอบได้
น่าจะเป็นความรู็สึกบางอย่างจากการได้เสพvisualหรือสิ่งบางอย่างอะไรจากคาแร็คเตอร์ตัวนั้นมากกว่า


นะโม เริ่มพบแสงสว่างเล็กน้อย ไม่แทงตาจนเกินไป

จากการที่ได้รับคําแนะนําจากอาจารย์ที่เคารพ ก็ทําให้เราเดินกลับมาที่จุดเดิมที่เรามอง มันแค่ด้านvisual จึงทําให้เราเลิกที่จะสนใจอยู่กับมัน แต่พอฟังที่อาจารย์ได้บอกก็ทําให้เราเริ่มที่จะวางแผนการทดลองใหม่
ดูได้จากภาพข้างล่าง โดยอาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้

------------------------------------------------------------------------------

------------------------------------------------------------------------------

จากนั้นก็เริ่มทดลองไปเรื่อยๆตามกรอบที่คิดไว้ ซึ่งก็น่าสนใจดี เพราะพบอะไรแปลกๆเหมือนกัน คิดว่าน่าจะมีช่องทางบ้างแล้วหล่ะ เอาเป็นว่าใครสนใจก็กดเข้าไปดูได้ไม่หวงกัน

------------------------------------------------------------------------------




------------------------------------------------------------------------------

นิดนึงสําหรับเรื่องจํานวนหน้า เห็นเพื่อนๆหลายคนค่อนข้างจะสนใจกับตรงนี้กันจัง ส่วนตัวผมไม่เห็นว่ามันจะ
เป็นตัวบ่งชี้อะไรเท่าไร 1หน้าของผม กับของนายผักกาด อาจจะมีความเข้มข้นต่างกันแบบชัดเจนก็ได้
ส่วนตัวผมคิดว่า มันน่าจะเป็นการที่เราได้หมกหมุ่นกับอะไรจนบรรลุอะไรซักอย่างมากกว่า
500แผ่นอาจจะแค่เป็นตัวช่วยให้เราขยับมือทําแค่นั้นเอง (แต่ยังไงก็ตามในเมื่อเป็นข้อกําหนดก็ควรจะทําให้ถึง)
ก็อยากจะบอกกับเพื่อนๆและตัวผมเองว่า เราน่าจะสนใจกับสิ่งที่เราได้จากการทํามากกว่ามานั่งพวงกับ
จํานวนหน้าโดยไม่ใส่คุณภาพลงไป

12/17/2550

การแกะรูปทรงเรขาคณิต สิน่าจะใช่!!



หลังจากที่หลงมั่วเดินเข้าไปโดยดึงเรื่องจินตนาการที่ไม่เกี่ยวข้องมาโยงกับเรขาคณิต แต่สุดท้ายสิ่งที่สนใจจริงๆก็ค่ือเรื่องของเรขาคณิตนั้นแหละ การแกะ form เรขาคณิต
น่าจะใช่หัวเรื่องที่เราเองสนใจ เพราะการแกะมันแล้วเรายังได้อะไรแปลกแปลกใหม่เพิ่มขึ้นมา
แต่ก็ไม่รู้ว่าจะไปได้ซักแค่ไหนแล้วงานจบคืออะไร ข้างล่างนี่เป็นรูปของเล่นที่ไปลองทดสอบเล่นมา
คิดว่าน่าจะเข้ากับหัวข้อที่อยากทําพอดีอย่างไม่น่าเชื่อพร้อมกับราคาไม่น่าเชื่อ


-------------------------------------------------------------------------------------------


12/13/2550

ลายจุด

น่าแปลกที่แท้จริงแล้วงานสุมหัวอยู่เต็มประดาแต่ไอ้ตัวเราก็ยังอยากที่จะทําอะไรบางอย่าง เพื่อสนองความอยากรู้อยากทํา ขี้เกียจพิมเยอะช่วงนี้สงสัยแก่แล้ว คอนเซ็ปคือดมเดลไม้ลายจุด ถ้าเพื่อนๆสนใจลองกดไปดูละกัน

http://linejud.blogspot.com/

12/10/2550

ฮื่มๆ จินตนาการกับการวาด

ต่อจากตอน “ ฮื่มๆ จินตนาการกับตรรกะของการคลี่คลาย ” จากที่ผมได้ทดลองสร้างเรขาคณิตก็พบว่าวิธีเขียนเรขาคณิตแบบบ้านๆโดยไม่ได้คํานึงอะไรมากนักช่างสอดคล้องกับเรื่องของ
การใช้จินตนาการแบบวิสัยทัศน์อย่างยิ่ง เพราะคนเราไม่สามารถวาดเรขาคณิตได้อย่างแม่นยําเป็นเส้นตรงและทํามุมภายในให้รวมตามเท่าที่กฏกําหนด แต่อย่างไรก็ตามรูปพวกนั้นเราก็เข้าใจกันว่ามันคือเรขาคณิต ดังภาพ

ด้านซ้ายจะเกิดจากการใช้ไม้บรรทัดเขียนแบบเรขาคณิตวาด

ด้านขวาจะวาดเอาสดๆโดยไม่คิดอะไรมาก




จินตนาการคนเราก้เหมือนกันมันอาจจะไม่ได้ตรงตามตรรกะ การที่ความคิดจุดหนึ่งจะไปยังอีกจุดหนึ่ง
อาจจะมีได้หลายทาง แต่อย่างไรก็ตามก็น่าจะได้บทสรุปที่คล้ายกัน

Cake book สมุดน่าเจี๊ย :P (แบบทดลอง)


หลังจากได้รับโจทย์ให้ทําหนังสือเชิงทดลองเกี่ยวกับเนื้อหาที่แต่ละคนได้รับไป ผมก็เลือกที่จะทดลองเกี่ยวกับเรื่อง form ของขนมเค้กที่ไปเกี่ยวข้องกับวันเกิด
โดนจะทําให้ออกมาในรูปแบบเศร้าเล็กน้อย โดยเป้นชิ้นเค้ก1ชิ้นแต่เมื่อกางออกมา
ก็จะพบเค้กก้อนใหญ่หลายหน้า เพื่อตอบโจทย์ของเนื้อเรื้่องที่ว่า "ในคนคนหนึ่งมี
หลายอายุ " ก็เลยใช้หน้าเค้กแทนอายุคนไป เอาเป็นว่าไปดูกันเลยดีกว่า แต่ยังไม่ใช่งานเสร็จนะ
นี่แค่งาน sketch ไว้ถ้าตัวจริงเสร็จแล้วจะเอามาลงอีกที


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตรงนี้ลองคิดและวาดฝันก่อน





----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ลองทําจริงไปเลย


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


บางครั้งหากไม่ลองทําจริงก็ไม่อาจจะรู้ปัญหาได้ หัวของเราอาจจะไม่สามารถคิดกับงานงานหนึ่งด้วยมิติ
ที่รอบด้านได้ เพราะฉะนั้นถึงจะเสียเวลาเสียแรงไปหน่อย แต่ก็น่าจะคุ้มค้ากับการได้อาวุธนําร่องเพื่อไปสู่
งานจริง ว่างั้นมะจ๊ะ :P



ฟู่ว!! จินตนาการกับตรรกะของการคลี่คลาย


จากที่อาทิตย์ที่แล้วได้เขียน(แต่ไม่ได้พูด)เกี่ยวกับเรื่องจินตนาการแบบทัศนวิสัยไป อาทิตย์นี้ก็เริ่มมึนๆว่าไอ้ของเก่าที่คิดมันถูกแล้วหรือเปล่า แล้วมันจะนําไปทําอะไรได้ แต่ในเมื่อยังไม่แน่ใจก็ต้องลองต่อไป โดยขอขอบคุณพี่แชมป์สําหรับการแลกเปลี่ยนความคิดที่สนุกสนานพร้อมกับแนะนําเกล็ดเล็กเกล็ดนิดหน่อยสําหรับเรื่องความรัก(ฮ่าๆๆๆ)


คราวนี้เราจะมาเริ่มดูกันที่แผนผังของจินตนาการทั่วไปก่อนว่าเป็นอย่างไร



ต่อไปก็มาทดลองกันว่าหากเรานัาจินตนาการที่เกิดจากเรขาคณิตมาคลี่ออกจะเป้นอย่างไรและได้อะไรบ้าง




---------------------------------------------------------------------------------------------------------





---------------------------------------------------------------------------------------------------------




---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ถึงจะได้ตรรกะบางอย่างมาก็ตามแต่ก็ยังไม่มีความสามารถพอจะหาของมาลองทําตาม
ตรรกะนี้ได้ คงต้องคิดกันต่อไป ส่วนตอนต่อไปจะเอาที่เสก้ตกับการวาดมือให้ดู
จะเห็นว่าหากคนเราสร้างเรขาคณิตโดยไม่ใช่เครื่องมืออย่างไม้บรรทัดหรือคอมพิวเตอร์มาช่วย
แทบจะสร้างเรขาคณิตแบบแท้จริงไม่ได้เลยจะเป็นไงก็ติดตตามชมกันละกัน

12/09/2550

100 mutation ขบวนการกลายพันธุ์


จากวิชาคอมพิวเตอร์อารต์ก้มีการให้โจทย์เกี่ยวกับ การทําให้งานศิลปะไปมีปฏิสัมพันธ์กับคนภาพนอก จึงทําให้เราคิดโปรดเจคนี้ขึ้นมา โดยทําโมเดลจากเทียน แล้วนําไว้วางไว้ตามที่ต่างๆของมหาลัย จากนั้นเมื่อคนเก็บได้ก็จะอ่านคู่มือแนะนําการกลายพันธ์ุ และหลังกจากนั้นก็จะถ่ายภาพหลังจากที่
ทํารูปลักษณ์ใหม่ให้กับโมเดลของเรา ใครสนใจดูลายละเอียดได้ที่


http://100mutations.blogspot.com/

12/02/2550

โว้ว เย่!! ตะลุยแดนจินตนาการกับเรขาคณิต ภาค จุดกําเนิด

หากเรานําเรขาคณิตมาคิดวิเคราะห์การสร้างก็จะเห็นได้ถึงระบบบางอย่างในตัวเรขาคณิต
และจุดนั้นเราสามารถมาเชื่อมโยงกับเรื่องของจินตนาการได้อย่างลงตัว เคยสงสัยไหมว่าทําไมเวลาคนเราสร้างรูปเรขาคณิต การลากเส้นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเราถึงเลือกที่จะลากเป็นเส้นตรงไปโดยที่ไม่โค้งหรือเปลี่ยนอะไรดู นั้นเป็นเพราะเรามีจิตนาการแบบวิสัยทัศน์ซึ่งอาจจะเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของเรา

โดยผมจะไล่วิเคราะห์
จากรูปทรงที่มีความซับซ้อนจากน้อยไปมาก โดยรูปแรกที่เราจะมาดูกันก็คือ


รูปสามเหลี่ยม ถ้าเราลองสมมุติว่าจุด a คือ เรื่องเรื่องหนึ่ง จุด b คือเรื่องที่วิสัยทัศน์ของเราจะจินตนาการไปได้ถึงโดยเป็นเรื่องที่สามารถเชื่อมโยงกับจุด a ได้โดยทีไม่เกินจริง และจุด c ก็คือจุดที่จะสามารถเชื่อโยงกับจุด B โดยที่เป็นเรื่องที่ไม่เกินจริงเช่นกัน และจุด a ก็น่าจะเป็นเรื่องที่เชือมโยงมาจากจุด c จะเห็นได้ว่ามีความน่าจะเป็นในเรื่องของจินตนาการเกิดขึ้นในงานจะประสบการณ์และวิสัยทัศน์ของเรา
จุดที่น่าคิดอีกจุดก็คือกรณีที่ไม่สมเหตุสมผลของรูป3เหลี่ยมซึ่งก็คือ ไม่ว่ายังไงก็ตาม

มุม a ไม่สามารถจะเชื่อมโยงกับ ด้าน cb ได้

มุม b ไม่สามารถจะเชื่อมโยงกับ ด้าน ac ได้
มุม c ไม่สามารถจะเชื่อมโยงกับ ด้าน ab ได้

ก็จะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้วเรื่องของวิสัยทัศน์เองก็มีข้อจํากัดบางประการอยู่
ผมจะลองยกตัวอย่างจะเห็นเห็นภาพกันง่ายๆ

เราแทน A ด้วย การจับมือ แทน B ด้วยการเมินหน้าหนี แทน C ด้วยการชกต่อย
ลองมาคิดดูว่าเส้น ab น่าจะเป็นเหตุการณ์อะไรที่วิสัยทัศน์เราบอกว่าเป็นใน
เชิงลบ ส่วน ac ก้น่าจะเป็นในเชิงลบที่รุงแรงกว่า ส่วน ac อาจจะเป็นเรื่องของมิตรภาพ

ต่อมาเราลองมาดูที่สี่เหลี่ยม จริงๆแล้วมีความคล้ายคลึงกันมากแต่อาจจะมากกว่าเท่านั้นเอง
ดูตามภาพแล้วใช้หลักการจากสามเหลี่ยมก็น่าจะเข้าใจ




ส่วนวงกลมอันนี้ค่อนข้างจะแปลกกว่าเพื่อนหน่อย การเราตีเป็น 1องศาต่อหนึ่งเหตุการณ์
ก็จะมี 360 เหตุการณ์ในวงกลมที่เชื่อมโยงกันบางอย่างเลยทีเดียว

จุด a เป็นจุดเริ่มต้น และจะแตกเส้นเป็นรัศมีกระจายรอบวงกลมโดยจํานวนของเรื่องก็จะเปลี่ยนแปลงตามค่าขององศาของมุมในวงกลม โดยมีเส้น c เป็นเส้นของจินตนาการแบบวิสัยทัศน์
และมี B เป็นเหตุการณ์ที่จะเชื่อมโยงกันในลักษณะของเส้นโค้ง ซึ่งก็น่าสนใจไปอีกแบบ
ตอนนี้คิดไว้แค่นี้ถ้าใครอยากจะแนะนําอะไรคอมเม้นต์ไว้จะเป็นพระคุณอย่างสูง

โว้ว เย่!! ตะลุยแดนจินตนาการกับเรขาคณิต ภาค จุดกําเนิด



หลังจากจ้องมองครอบครัวเรขาคณิตจนพวกเขาเริ่มเขินอายกับผม ผมก็เริ่มคิดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับครอบครัวนี้ได้ ผมพยายามหาจุดเชื่อโยงและจุดต่างของเรขาคณิตพื้นฐาน
(3เหลี่ยม 4เหลี่ยม วงกลม)พื้นที่ของเรขาคณิตไม่อาจจะนํามาคิดได้โดยง่ายเนื้อจากตัวแปรนั้นไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีใครกําหนดว่ารูปทรงนี้จําเป็นต้องมีพื้นที่เท่าไร หรือความกว้าง
และความยาวก็ออกมาในทํานองเดียวกันแต่สิ่งหนึ่งที่มีการจําหนดอย่างตายตัวก็คือ มุม และองศารวมของรูปเรขาคณิตพื้นฐานพอได้ดังนั้นแล้วก็มาเริ่มดูว่าเราจะได้อะไรจากมันบ้าง
จะเห็นได้ว่ารูปทรง หรือขนาด แทบจะไม่มีอะไรตายตัวเพียงแต่ให้อยู่ในข้อกําหนดของจํานวนมุมและองศารวมภายใน อาจพูดได้ว่าเรขาคณิตนั้นเกี่ยวข้องกับมุมจนแทบแยกจากกัน
ไม่ได้ดังนั้นเราก็จะมาเริ่มศึกษาที่หน่วยที่เล็กที่สุดนั้นก็คือจุด การที่เราจะสร้างเรขาคณิตพื้นฐานขึ้นมาได้นั้นเราอาจจะเริ่มพิจารณาจากโคงสร้างแรกก็คือจุด จุดน่าจะขึ้นอยู่กับแต่ละรูปทรงดังนี้

รูป 3 เหลี่ยม ประกอบด้วยจุด 3 จุด ที่มีเส้นตรง 3 เส้น ลากผ่านประกอบเป็น3เหลี่ยม
รูป 4 เหลี่ยม ประกอบด้วยจุด 4 จุด ที่มีเส้นตรง 4 เส้น ลากผ่านประกอบเป็น4เหลี่ยม
รูปวงกลม ประกอบด้วยจุดศูนย์กลาง 1 จุดและมีเส้นจํานวนมากลากผ่านจนกลายเป็นวงกลม

น่าแปลกใจที่ทําไมคนเราจึงต้องลากแต่เส้นตรงผ่านจุดเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วเราสามารถทําให้มันโค้งมนหรือเส้นในที่ลักษณะบิดเบี้ยวจากเส้นตรงได้
ซึ่งตรงจุดนี้น่าจะเชื่อมโยงได้กับเรื่องจินตนาการของคน จินตนาการมีอยู่หลายแบบ ดังนี้


1.จินตนาการแบบเพ้อฝัน เป็นจินตนาการที่เกินจริงเกิดขึ้นได้ยาก เช่น มนุษย์สามารบินได้เหมือนเครื่องบินf16
2.จินตนาการวิสัยทัศน์ เป็นจินตนาการที่เกิดจากนําเหตถผลหรือจุดเชื่อมโยงมาประกอบเป็นเรื่องราว เช่น ผู้นํามองไปข้างหน้าแล้วเห็นการกินดีอยู่ดีของประชาชนซึ่งจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ นอกจากนี้ยังมีอีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือเวลาที่เรามองรถเมล์และเราเห็นรูปโฆษณาตรงข้างรถเมล์ หากเรานํามันมาประติดประต่อกันด้วยประสบการณ์ของเรา เราก็สามารถสร้างเรื่องราวจากทัศนวิสัยของเราได้ตัวอย่างเช่น เราเห็นภาพดังนี้บนรถเมล์ผู้หญิง ผู้ชาย รูปอมรูปหัวใจเราอาจจะเชื่อมโยงได้ว่า ผู้หญิงกับผู้ชายรักกัน
3.จินตนาการแบบตรรกะ เช่นเวลาเราเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาต่างๆเราก็จะสามารถจินตาการได้ถึงภาพและหน้าตาที่โปรแกรมจะแสดงออกมาได้

ถ้าเรานําเรื่องจินตาการมาเชื่อโยงกับการสร้างเรขาคณิต จุดก็น่าจะเป็นตัวเริ่มต้นไปสู่จินตนาการต่างๆ ได้ โดยเพื่อนๆสามรถติดตามการวิเคราะห์เจาะลึกได้ในตอนต่อไป

เล็ต-ทอคล์-อะ-เบาวน์ บริบทกับการรับรู้

การตีลังการคิด โดยนําหัวจิ้มลง ณ ปลายเตียงแล้วนํา เท้านั่งท่าขัดสมาธิเพชรไมไ่ด้ช่วยให้ผมคิดอะไรออกมาได้เพิ่มเติมจากครั้งที่แล้ว นับเป็นบุญที่วันอังคารที่จะถึงนี้มีการสัมนาทางการออกแบบซึ่ง นั่นเป็นสาเหตุทําให้ผมต้องไปคุยกับพี่แชมป์ซึ่งได้รับคะแนนโหวตอย่างล้นหลามให้เป็นพิธีกรคู่กับน้องอีกซักคน เพื่อคอยชงคําถามอุ่นๆให้กับวิทยากร หลังจากที่เราถกเถียงเขียงหมูเรื่องหัวข้อที่ถูกเหล่าสมาชิกในห้องที่ใช้โปรแกรม msn คุยกัน (รอบ2) เราก็ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับหัวข้อจํานวนหนึ่ง พร้อมทั้งคําถามบางอย่างที่พวกเราช่วยกันคิดก็คิดไม่ออกและก็ไม่รู้จะมีคําตอบไหม (สนุกแน่)




จากนั้นพี่แชมป์ก็กล่าวกับผมว่า “ เนทเมิงตันใช่ไหม ? “ ผมก็พยักหน้างึกๆแบบลูกไก่ที่เพิ่งกะเทาะเปลือกออกมา จากนั้นเราก็เลยถกเถียงหันเรื่องหัวข้อของแต่ละคน โดยมี ผม พี่แชมป์ที่เคารพ และไอ้เติกร์ น่าแปลกที่เราคุยกันนานมากจนห้องสมุดจะปิดโดยที่รู้สึกโครตมันส์เลย มีบางอย่างที่ตล
กก็คือ พออีกสองคนคิดเรื่องของคิดคนมักจะมีไอเดียที่ไหลลื่นกว่า เช่น ถ้าผมกับไอ้เติกริ์คิดเรื่อง folder ของพี่แชมป ์สมองจะขับเคลื่อนไปด้วยความเร็วสูงและ มีคําพูดมากมายหลั่งไหลออกมาโดยไม่ค่อยมีการหยุดจังหว่ะนานๆให้เห็นซักเท่าไร ก็น่าแปลกดี



เอาหล่ะมาเข้าเรื่องซักที เวลาที่เพื่อนๆเห็นสิ่งรอบตัวเคยสงสัยบ้างไหมว่า เรามองมันในแง่ไหน
ในวิชาปรัชญา John Loow กล่าวไว้ว่า (กรุณานึกท่า การนํามือสองมือขึ้นมาแล้วชูนิ่วกลางกับนิ้วชี้ พร้อมทั้งขยับขึ้นลงสองครั้ง ) คุณสมบัติของสิ่งของแต่ละสิ่งประกอบด้วย ปฐมภูมิ คือ คุณสมบัติที่ติดมากับสิ่งนั้นๆตั้งแต่แรก เช่น รูปร่าง การกินที่ ทุติยภูมิ คือ คุณสมบัติที่เกิดจากการรับรู้ของคนที่ไปพบเห็นสิ่งสิ่งนั้น เช่น กลิ่น เสียง



เพื่อนๆเคยสงสัยไหมว่า ทําไมเราถึงมองไฟจราจรเป็นไฟจราจร ทําไมเราไม่มองมันเป็นวงกลม
หรือทําไมเราไม่มองเค้กเป็นสามเหลี่ยม นั้นก็เพราะว่าเรามีการเรียนรู้จากประสบการณ์ว่าสิ่งสิ่งนั้น มีหน้าที่อะไรและเรามองมันในแง่อื่นที่ไม่ใช่เรื่องของ form การได้รับความรู้น่าจะเกิดจาก
ประสบการณ์และเหตุผล



การที่ประสาทสัมผัสของเรารับอะไรเข้ามาและผ่านเหตุผล12หมวดในสมอง จากนั้นจึงกลั่นมันออกมาในรูปแบบของ Phenomena (สภาพของความเป็นจริงที่ปรากฏ) และนํา สภาพความเป็นจริงมาคิดวิเคราะห์เพื่อสังเคราะห์ออกมาเป็น Nuumena (ความจริงเบื้องหลังปรากฏการณ์) ซึ่งทําให้เรารู้และเข้าใจสิ่งสิ่งหนึ่งมากกว่าแค่เรื่องของ form ถ้าเพื่อนๆสนใจ
ลองทดสอบจิตํานึกตัวเองง่ายๆด้วยการหาสิ่งของที่มีform ของเรขาคณิตชัดเจน และนํามาถามกับตัวเองว่า แท้จริงแล้วเรามองมันจากอะไร จะสนุกยิ่งขึ้นหากเพื่อนๆมีการเดินทางและนําเรื่องนี้คิดไปตลอดทางก็จะพบว่าจริงๆแล้วเรื่องนี้มันมีอยู่เต็มรอบตัวไปหมด