1/20/2551

อ่ะฮ่า ปีกผีเสื้อมรณะกับการทะเลาะของกะทิ




หลังจากที่ไปอ่านเจอบทความที่น่าสนใจเลยเอามาฝากกัน

อ้างอิง
http://bangkokbiznews.com

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Change one thing, change everything. แค่เปลี่ยนบางสิ่ง ทุกสิ่งกลับเปลี่ยนแปร อันนำไปสู่ทฤษฎีโกลาหล ที่ว่ากันว่า แม้เพียงปีกผีเสื้อกระพือ ก็อาจเกิดพายุกระหน่ำแรงถึงครึ่งโลก (It has been said something as small as the flutter of a butterfly's wing can ultimately cause a typhoon halfway around the world. - Chaos Theory) ปฐมบทของทฤษฎีโกลาหลเริ่มต้นในปี 1960 จากโปรแกรมทำนายสภาพอากาศ โดย “เอ็ดวาร์ด ลอเรนซ์” นักวิทยาศาสตร์ที่กำลังศึกษารูปแบบของภูมิอากาศในช่วงเวลาต่างๆ โดยการใส่ข้อมูลตัวเลขลงไปในคอมพิวเตอร์ ให้คำนวณผลลัพธ์และแสดงรูปแบบของสภาพอากาศ เดิมเขาคิดว่าข้อมูลที่ใส่ลงไป ถ้าใส่ตัวเลขหลังจุดทศนิยมสามตำแหน่งหรือสี่ตำแหน่ง คงไม่มีนัยยะสำคัญ ถึงวันหนึ่งเมื่อต้องการให้คอมพิวเตอร์คำนวณซ้ำๆ ต่อเนื่องกันยาวนานขึ้น เขาจึงใส่เลขหลังจุดทศนิยมเพียงสามตำแหน่ง แต่ทว่าผลที่ได้ โมเดลสภาพอากาศกลับให้ผลแตกต่างตรงกันข้ามกันกับโมเดลก่อนหน้านี้ ดังนั้น ข้อสมมติฐานเดิมที่บอกว่า ตัวเลขหลังจุดทศนิยมตำแหน่งที่สี่ไม่มีนัยยะสำคัญนั้นจึงผิด นำมาสู่ข้อสรุปใหม่ที่ว่า องค์ประกอบเล็กๆ ของเหตุการณ์หนึ่งๆ ที่ไม่ค่อยสำคัญนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ซ้ำ ๆ กันต่อเนื่อง อาจได้ผลตรงกันข้ามได้ นำไปสู่ข้อสรุปที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ในสถานการณ์จริงย่อมมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ระบบใดๆ ไม่สามารถดำเนินได้ตามปกติ และปัจจัยเล็กๆ เหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ที่เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เขาเปรียบองค์ประกอบเล็กๆ เหล่านี้ว่า เสมือนการกระพือปีกของผีเสื้อตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง ในมุมเล็กๆ มุมหนึ่งของโลก อาจจะก่อให้เกิดพายุทอร์นาโดสร้างความเสียหายให้กับอีกฟากโลกหนึ่งได้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ผลกระทบแค่ระดับจุลภาคบางทีอาจจะมองไม่เห็น แต่บางครั้งก็ก่อให้เกิดผลในระดับมหาภาคได้
ผมนึกไปถึงเรื่องของคนสองคนที่ทะเลาะกันจนทําให้บ้านเมืองต้องมีรถถังมาวิ่งพล่าน
เหมือนเกมส์ battle city ในเครื่อง family จริงๆแล้วถ้ามองว่าระดับจุลภาคคือมนุษย์
ประเทศไทยจะมีมนุษย์ประมาณ 60 ล้านคน ทุกวันมีการเวียนว่ายตายเกิด
มีเหตุการณ์ในระดับจุลภาคมากมาย แต่ก็มีเพียงบางเหตุการณ์ในระดับจุลภาค
เท่านั้นที่จะส่งผลกระทบต่อมหภาค อย่างเช่นการทะเลาะกันของ ทักกี้และกะทิ
ก็ทําให้บ้านเมืองและประเทศต้องถูกแบ่งออกเป็นสองหรือสามฝ่าย




ก็น่าแปลกที่จุดเล็กๆบางครั้งก็ทําให้ภาพทั้งภาพเปลี่ยนแปลงไปได้
อาจจะต้องศึกษาเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงให้ดีก่อนที่จะทําอะไรต่อ


ไม่มีความคิดเห็น: