1/28/2551

ฝันสลาย คล้ายจะเป็นฝุ่น TT



หลังจากที่พยายามคิดหาเรื่องพูดและเรื่องเชื่อมโยงนานมากแต่ก็ไม่ได้ซะที จนในที่สุด
ก็ไปพบกับเกมเพชร ที่มีลักษณะ ของการชนกันและเกิดการเปลี่ยนแปลง
และก็นึกไปถึงว่าจะมีตัวพิเศษทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเช่น เมื่อไอ้ตัวนี้
ลงมาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงกับตัวที่มีสีเดียวกับตัวนี้ก็จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่
ก็น่าจะนําไปใช้สื่อสารในรูปบบicon game ทําให้ดูแปลกไปอีกแบบได้ แต่หลังจากคุยกับ
พี่แชมป์ก็พบจุดบกพร่องในเรื่องความคิดกับการเชื่อมโยง คงต้องถูกล้มเลิกไป อ๊ากกกกก
กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก





1/27/2551

ศักยภาพของหน่วยย่อย



จากคราวที่แล้วได้บอกไว้ว่าไม่ควรมองหน่วยย่อยแต่ละหน่วยแค่จํานวน แต่ต้องพิจารณาที่คุณสมบัติหรือศักยภาพด้วย
ตัวอย่างจากคราวที่อยู่ให้ห้อง ถ้าผมต่อยกับเพื่อน คงไม่มีผลต่อหน่วยใหญ่ แต่หากประธาณาธิบดีไปทะเลาะกับ
คนมีอํานาจเช่นกัน ย่อมทําให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวม จากตรงนั้นเราก็ลองไปดูกันที่การทํางานของผึ้ง และมด
ผึ้งและมดจัดได้ว่าเป็นสัตว์สังคมที่อยู่ด้วยกันอย่างมีระบบระเบียบมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน
ถึงแม้ว่าเรามองด้วยตาเปล่าอาจจะเห็นมันเป็นแค่ผึ้งหรือมดที่ก็คล้ายๆกันนั้นแหละว่ะ
แต่ผึ้งหรือมดแต่ละตัวก็มีหน้าที่หรือศักยภาพที่แตกต่างกันไป ผึ้งงานต่อยกับผึ้งงาน ก็อาจจะ
เสียแค่ผึ้งงานสองตัว ไม่ได้มีผลกระทบจนทําให้รังเสียหายหรือทําให้เรามองเห็นได้ ในขณะเดียว
กันถ้าผึ้งนางพญาหรือมดนางพญา ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลการทํางานในรังโดยใช้ฟีโรโมน
เป็นตัวออกคําสั่งสือสาร และยังเป็นตัวให้กําเนิดประชากรที่ทัาหน้าที่ต่างๆในรัง จนพูดได้ว่า
เป็นผู้กําชะตาของรังนั้นเลยทีเดียว ฉะนั้นคิดว่าแน่นอนถึงรูปร่างจะไมไ่ด้ต่างกันจนแยกได้ง่าย
แต่ในหน่วยย่อยแต่ละหน่วยย่อมมีหน้าที่ และศักยภาพ ผลกระทบต่อวงกว้างที่ไม่เท่ากัน
เพราะฉะนั้น ผมคิดว่า ไอ้หน่วยย่อยที่มีหน้าที่ควบคุมหรือมีผลกระทบต่อหน่วยใหญ่
ก็ยิ่งต้องมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่มาก ถ้าทํางานได้ดี หน่วยย่อยก็น่าจะดีตามไปด้วย
ในขณะเดียวกันถ้าแย่ หน่วยย่อยก็มีผลกระทบแน่นอน


หน่วยที่ส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นก็น่าจะเห็นแก่ส่วนรวมไม่ว่าจะทําอะไรก็ตามไม่ควรทําเพื่อจุดๆหนึ่งหรือกลุ่มๆหนึ่ง หากแต่ควรมองและคํานึงถึงภาพรวมเสมอ

1/21/2551

คุณลักษณะของจุลภาค

แน่นอนว่าจุลภาคเองก็ไม่ได้มีความจําเป็นจะต้องมีลักษณะหรือคุณสมบัติที่เหมือนกันทุกประการ
เสมอไป หลายครั้งที่เรื่องจุลภาคทําให้เกิดมหภาค แต่แน่นอนว่าก็มีเงื่อนไขที่ทําให้เกิดเช่นกัน
การที่ทักกี้และกะทิทะเลาะกันอาจดูเป็นเรื่องจุลภาคได้ แต่ตัวคุณลักษณะพิเศษของจุลภาคทั้งสอง
(ตําแหน่ง, ฐานะ, ชื่อเสียง, เงินทอง ) ก็สามารถทําให้มหัพภาพขับเคลื่อนไปตามจุลภาคทั้งสองได้
แต่ตรงนี้ก็ยังไม่แน่ใจความคิดเสียทีเดียว คงต้องตรวจสอบความคิดกันต่อไป
จากตรงนี้นอกจากจะต้องหาความคิดที่แน่นอนแช่แป้งแล้วยังต้องแสวงหาvisualมาเพื่อ
อธิบายสิ่งที่คิดให้ได้อีกด้วยกล้วยย่าง





note: ลูกแก้วแทนด้วยจุลภาคที่มีคุณลักษณะพิเศษที่มีจํานวนน้อยกว่าทั่วไป

1/20/2551

spaceของควันผู้ไม่หยุดนิ่ง



----------------------------------------------------------------------------------------

เมื่อฟ้าประธานโจทย์เกี่ยวกับspace จึงเลือกที่จะนําเอาเรื่องควันมาใช้ในการบอกถึงspace
เพื่อแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่ทดลองเป่าแป้งไปนั้นมีตัวแปรอื่นๆและมีพื้นที่อยู่จริง นอกจากนั้นตัว
แป้งที่เป่าไปด้วยการคุมเงื่อนไขการทดลองยังไม่สามารถคาดเดารูปทรงได้ ลองไปดูละกันว่าเป็นยังไงบ้าง
ถ้าเรามองมันแค่เม็ดเดียวคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างของควันในระดับมหัพภาพได้ แต่ถ้าเรามองเป็นเม็ดจํานวนมากๆก็จะสามารถมองเห็นและเปลี่ยนรูปทรงได้

กระดึบ กระดึบ ~ เลื้อยสยองป่า


------------------------------------------------------------------------------------------------



ใครจะเชื่อว่าไส้เดือนตัวเล็กๆจะมีพลังอํานาจถึงขนาดเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ได้
การเข้ามาล่าอาณานิคมของอังกฤษ ไม่ได้นําพามาเฉพาะสิ่งที่มองเห็นในระดับมหาภาค
เช่น วัฒนธรรม เทคโนโลยี เท่านั้น พวกเขายังนําพาสิ่งที่เล็กยิบย่อยมากมายเข้ามาด้วย
ไส้เดือนเป็นตัวอย่างที่ดี ว่ากันว่าในทวีปอเมริกาตอนแรกที่เพิ่งถูกค้นพบนั้น ในป่ายังไม่มีไส้เดือน
เมื่อใบไม้ร่วงจากต้นไม้ ก็จะถูกกองและทับถมลงบนพื้น แต่การเข้ามาของพวกอย่างในยาสูบเข้ามา
และในนั้นก็มีไส้เดือนป่ะปนอยู่ เศษใบยาสูบที่ไม่ได้คุณภาพหรือเสีย ได้ถูกนําไปกองทิ้งในป่า
ใบไม้ที่คอยทับถมบนพื้น ถูกไส้เดือนย่อยสลาย ทําให้ต้นไม้ไม่ได้สารอาหาร และแห้งแล้ง
จนในที่สุดก็เป็นป่าที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ เห็นได้ว่าแม้เพียงสิ่งเล็กๆในระดับจุลภาพก็สามารถ
กระทบต่อภาพรวมได้

วิ้ว~~~ เทพแห่งสายลมผู้ไร้พลังวิเศษ


หลังจากได้รับโจทย์ให้ทําเทพแห่งสายลม

เราก็คิดว่าไม่อยากทําเทพที่ม ีsuper power เพราะไม่ค่อยชอบอะไรที่
ได้มาจากความบังเอิญ เลยคิดว่าจะทําเป็นเทพที่เป็นคนนี่แหละ
ก็เป็นคนที่มีความฝันอยากจะสร้างลมแลวก็ทดลองและผิดพลาด
แล้วผิดพลาดอีก จนในที่สุดก็ทําไม้เท้าควบคุมลมได้สําเร็จ

ตัวลักษณะคาแร็คเตอร์อยากให้ดูอบอุ่นใจดี ไม่ใช่ลมที่เชี่ยวกราด
อยากได้ลมอุ่นๆเหมือนตอนที่เรากินช็อคโกแล็ตร้อนในโรงอาหาร
ตอนอยู่อนุบาล ก็ดีที่นานๆทีได้ใช้มืดวาดอะไรบาง สีก็ใช้สีไม้
กับเมจิกลงเอาดิบๆเนี่ยแหละ



อ่ะฮ่า ปีกผีเสื้อมรณะกับการทะเลาะของกะทิ




หลังจากที่ไปอ่านเจอบทความที่น่าสนใจเลยเอามาฝากกัน

อ้างอิง
http://bangkokbiznews.com

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Change one thing, change everything. แค่เปลี่ยนบางสิ่ง ทุกสิ่งกลับเปลี่ยนแปร อันนำไปสู่ทฤษฎีโกลาหล ที่ว่ากันว่า แม้เพียงปีกผีเสื้อกระพือ ก็อาจเกิดพายุกระหน่ำแรงถึงครึ่งโลก (It has been said something as small as the flutter of a butterfly's wing can ultimately cause a typhoon halfway around the world. - Chaos Theory) ปฐมบทของทฤษฎีโกลาหลเริ่มต้นในปี 1960 จากโปรแกรมทำนายสภาพอากาศ โดย “เอ็ดวาร์ด ลอเรนซ์” นักวิทยาศาสตร์ที่กำลังศึกษารูปแบบของภูมิอากาศในช่วงเวลาต่างๆ โดยการใส่ข้อมูลตัวเลขลงไปในคอมพิวเตอร์ ให้คำนวณผลลัพธ์และแสดงรูปแบบของสภาพอากาศ เดิมเขาคิดว่าข้อมูลที่ใส่ลงไป ถ้าใส่ตัวเลขหลังจุดทศนิยมสามตำแหน่งหรือสี่ตำแหน่ง คงไม่มีนัยยะสำคัญ ถึงวันหนึ่งเมื่อต้องการให้คอมพิวเตอร์คำนวณซ้ำๆ ต่อเนื่องกันยาวนานขึ้น เขาจึงใส่เลขหลังจุดทศนิยมเพียงสามตำแหน่ง แต่ทว่าผลที่ได้ โมเดลสภาพอากาศกลับให้ผลแตกต่างตรงกันข้ามกันกับโมเดลก่อนหน้านี้ ดังนั้น ข้อสมมติฐานเดิมที่บอกว่า ตัวเลขหลังจุดทศนิยมตำแหน่งที่สี่ไม่มีนัยยะสำคัญนั้นจึงผิด นำมาสู่ข้อสรุปใหม่ที่ว่า องค์ประกอบเล็กๆ ของเหตุการณ์หนึ่งๆ ที่ไม่ค่อยสำคัญนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ซ้ำ ๆ กันต่อเนื่อง อาจได้ผลตรงกันข้ามได้ นำไปสู่ข้อสรุปที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ในสถานการณ์จริงย่อมมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ระบบใดๆ ไม่สามารถดำเนินได้ตามปกติ และปัจจัยเล็กๆ เหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ที่เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เขาเปรียบองค์ประกอบเล็กๆ เหล่านี้ว่า เสมือนการกระพือปีกของผีเสื้อตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง ในมุมเล็กๆ มุมหนึ่งของโลก อาจจะก่อให้เกิดพายุทอร์นาโดสร้างความเสียหายให้กับอีกฟากโลกหนึ่งได้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ผลกระทบแค่ระดับจุลภาคบางทีอาจจะมองไม่เห็น แต่บางครั้งก็ก่อให้เกิดผลในระดับมหาภาคได้
ผมนึกไปถึงเรื่องของคนสองคนที่ทะเลาะกันจนทําให้บ้านเมืองต้องมีรถถังมาวิ่งพล่าน
เหมือนเกมส์ battle city ในเครื่อง family จริงๆแล้วถ้ามองว่าระดับจุลภาคคือมนุษย์
ประเทศไทยจะมีมนุษย์ประมาณ 60 ล้านคน ทุกวันมีการเวียนว่ายตายเกิด
มีเหตุการณ์ในระดับจุลภาคมากมาย แต่ก็มีเพียงบางเหตุการณ์ในระดับจุลภาค
เท่านั้นที่จะส่งผลกระทบต่อมหภาค อย่างเช่นการทะเลาะกันของ ทักกี้และกะทิ
ก็ทําให้บ้านเมืองและประเทศต้องถูกแบ่งออกเป็นสองหรือสามฝ่าย




ก็น่าแปลกที่จุดเล็กๆบางครั้งก็ทําให้ภาพทั้งภาพเปลี่ยนแปลงไปได้
อาจจะต้องศึกษาเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงให้ดีก่อนที่จะทําอะไรต่อ


1/19/2551

การเดินทางครั้งแรกสู่เมืองจุลภาคและมหภาค Q- -Q


หลังจากระเห็ดจากเรื่องเรขาคณิต ก็ได้เวลาหายใจหนึ่งอาทิตย์ก่อนที่จะเริ่มผจญภัยครั้งใหม่ รู้สึกว่าตัวเอง
เริ่มเข้าใจวิธีการเข้าผจญภัยมากขึ้น หลังจากที่ได้โจทย์มาก็เริ่มหาข้อมูลเพื่อไปผจญภัย

โจทย์ที่ที่รับมาคือ Macro และ
Micro ซึ่งก็คือ มหาภาค และ จุลภาค
ซึ่งถ้าแปลกันแบบบ้านๆก็คือ สิ่งที่มีขนาดใหญ่ กับ สิ่งที่มีขนาดเล็กมาก
แต่ว่าในเมื่อสองคํานี้ต้องคิดคู่กันก็ทําให้มีเรื่องและประเด็นต่างๆตามมามากมาย

จุลภาคที่มีจํานวนพอเพียงอาจจะส่งผลกระทบถึงระดับมหาภาค
เช่น ถ้าร้านค้าโชว์ห่วยทั้งประเทศขายดีเป็นเทนํ้าเทเป๊ปซี่ ก็อาจจะทําให้เรา
มองเห็นในระดับประเทศได้

จุลภาคเพียงเล็กน้อยจนไม่น่าเชื่อก็ยังสามารถเปลี่ยนแปลงมหาภาคได้เช่นกัน
เช่น การเข้าค้นพบทวีปอเมริกา มีการนําใบยาสูบมาขาย และใบยาสูบที่เสีย
ก็จะถูกทิ้งไว้ในป่า ซึ่งในใบยาสูบนั้นมีการนําพาไส้เดือนมาจากอีกทวีป

ทําให้เกิดการทําลายระบบนิเวศน์ขึ้น ทําให้ป่าของพวกอินเดียแดงพื้นเมือง
ถึงกับแห้งแล้งไป


นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเล็กน้อยอีกมากมาย เงื่อนไขในการรวมตัวหรือการ
เปลี่ยนแปลงของจุลภาคก็ดูเป็นอีกเรื่องที่น่าจะครุ่นคิดติดสนุก เพราะในแต่ละ
เรื่องที่เราหยิบมาแน่นอนว่าเงื่อนไขก็ย่อมต้องต่างกันไปหรืออาจจะมีคล้ายๆ
กันบ้างทั้งๆที่เป็นคนละเรื่องก็เป็นไปได้อีกเช่นกัน


--------------------------------------------------------------------------------------------------------








--------------------------------------------------------------------------------------------------------

หลังจากการประชุมเพลิงที่วังมังกรม่วงในซอยหอ ก็พบว่าเพื่อนๆแต่ละคนมีความ
เข้าใจในการทํางานมากขึ้น มีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย ทีนี้คงต้องเลือกเอาหล่ะ
ว่าใครสนใจอยากจะทําอะไร มีหลายคนพยายามตั้งคําถามกับผมว่า "เอ็ย
จุลภาคมันต้องเล็กแค่ไหน และจะดูยังไงว่าอันนี้เป็นจุลภาคของมหาภาคอันนี้"
ผมก็บอกว่ามันก็แล้วแต่ว่าจะมองมหาภาคเป้นยังไง แล้วจุลภาคก็คือหน่วยย่อย
ของอันนั้น เพื่อนที่น่ารักเลยถามต่อว่า "แล้วต้องเล็กแค่ไหนว่ะ เล็กที่สุดไหม "
ผมก็คิดกับคําถามนี้เยอะเหมือนกัน จนในที่สุด มันคงตอบได้ยากว่าอะไรกันแน่ ที่เล็กที่สุดในเรื่องนั้นๆ ผมคิดว่ามันน่าจะเป้นหน่วยย่อยๆที่เราสนใจมากกว่า เพราะในจุลภาค ก็มีจุลภาคซ่อนอยู่ เพราะฉะนั้นคงแล้วแต่ว่าเรามองอะไร กันแน่

1/12/2551

Bangkok Art and Culture Centre



-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิง http://www.hardcoregraphic.com/html/news/news_main.htm

กทม.ตั้งงบ 20 ล้านจัดโปรโมตหอศิลป์ ธ.ค.นี้ จัดพิธีเปิดหอศิลป์ 1 วัน ราวเดือน ก.พ.-มี.ค. รวมทั้ง
การจัดนิทรรศการภาพฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระหว่างเดือน ก.พ.-เม.ย. และกิจกรรมสนับสนุนหอศิลป์ ตลอดปี 2551 หอศิลป์
กรุงเทพฯ เริ่มต้นเป็นโครงการ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2537 โดยกลุ่มศิลปินร่วมสมัยแห่งประเทศไทยนับพันคนได้จัดแสดงผลงานที่ ศุนย์ประชุมสิริกิติ์
โดยหวังให้สังคมเห็นว่า มีศิลปินมากพอที่ควรจะมี หอศิลป์ มาเป็นพื้นที่รองรับในการแสดงออกผลงาน เป็นที่รวมกลุ่มศิลปิน เพื่อพบปะแลกเปลี่ยน
ความคิด แนวการทำงาน ซึ่งหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้เริ่มก่อสร้างในที่ดินของกรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกปทุมวัน คาดการณ์
กันว่าน่าจะก่อสร้างเสร็จราวๆปลายปี 2550 หรือต้นปี 2551

ก็คิดว่าน่าสนใจดีนะดูๆแล้วประเทศไทยก็เล็งเห็นถึงความสําคัญทางด้านศิลปะมากขึ้น
แต่ก็ยังคิดว่าน่าจะไปได้ไกลกว่านี้อีกเยอะ หากหลายๆคนไม่ได้มองศิลปะเป็นแค่
การเสพเรื่องไร้สาระ เหมือนการดูชิซูกะโดนเซ็นเซอร์ตอนอาบนํ้า

ตือ ดึด ตือ ดึด ~ รู้สึกดี :)



รู้สึกดีกับDtac

จากตอนแรกที่เดินไปเห็นโลโก้เป็นใบพัดสีฟ้า ก็งงๆว่า อะไรว่ะ จนกลับมาที่บ้าน
ได้ดูโฆษณา พอดูจบก็ร้องอ๋อ ความรู็สึกที่ได้จากโฆษณาตัวนี้ทําให้ผมรู้สึกว่า
จาก Dtac ที่พยายามจะเป็นคนตลกติดดิน เปลียนไปเป็น Dtac ที่เป็นคนง่ายๆ
เป็นมิตรและดูดี ส่วนตัวผมรู็สึกว่าโฆษณาตัวนี้ส่งผลต่อผู้บริโภคในเชิงบวก

อย่างน้อยก็ผมคนหนึ่งจากแต่ก่อนที่เคยคิดเสมอว่า GSM ดูเก๋กว่าเยอะ
ตอนนี้Dtac ทําให้ผมรู้สึกว่า ไม่ได้แพ้ GSM เลย ก็เลยเอามาให้เพื่อนๆดูกัน
และก็คิดว่าเพื่อนๆน่าจะชอบ


1/07/2551

อืม การเรียงตัวก็พอไหว



เรื่องของการเรียงตัวน่าจะเป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจ การเรียงตัวเกิดขึ้นได้จากปัจจัยบางอย่าง
ผมมองเห็นการเรียงตัวของจุดในขณะที่ทํางาน ซึ่งก็ดูน่าสนใจดีถึงแม้ยังไม่รู้ว่าจะ
นํามาใช้พูดเรื่องอะไรแต่ก็ทําให้เกิดการเรียงตัวตามข้อกําหนดของการเชื่อมโยงของจุด
ต่างๆเข้าด้วยกัน


อย่างการเรียงตัวของเมล็ดข้าวโพดที่ว่ากันว่าจะเรียงเมล็ดกันเป็นเลขคู่ ก็เพราะ
ปัจจัยทางพันธุกรรม์และสิ่งแวดล้อมนั้นเอง


1/06/2551

อะฮืม!! กระดูกจากเรขาคณิตพื้นฐานกับสิ่งต่างๆ

จากหัวข้อที่บอกไว้ในคราวที่แล้วว่ามี

1 เรื่องของการกินพื้นที่
2 เรื่องของการชี้นําจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
3 เรื่องของระดูก


จริงๆแล้วก็ทําไปเรื่อยๆ และพยายามหาทางที่จะดึงในด้านความหมาย และหาจุดเชื่อมโยง หรือ
ภาษาที่ใกล้เคียง แต่ก็ยังไม่พบอันที่รู็สึกว่าใช่ของเรา ที่เห็นจะดุเป็นรูปร่างหน่อยก็น่าจะเป็น
เรื่องของกระดูก ที่ใช้รูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม มาแกะออกแล้ว เรียงเป้นกระดูก
ง่ายๆ ลดความซับซ้อนของสิ่งต่างๆ ให้เหลือแต่เพียงแก่นหรือกระดูก เพื่อใช้ในการสื่อสาร
ซึ่งก็ไม่รู้ว่าดีหรือเปล่าแต่ก็ทํามาก่อน ส่วนอีกสองเรื่องยังไม่รู้ว่ามันจะนําไปใช้เพื่ออธิบาย
อะไรได้ช่างน่าเศร้าเคล้ากะปิ แต่คงต้องดูกันต่อไป






ว่ากันว่าทุกสิ่งมีแก่นหรือกระดูก ช่วย
ในการคํ่าจุน และ การเลื่อนไหว
ถ้ากระดูกเสียหายแน่นอนว่าร่างกานย่อมได้รับผลกระทบ แต่กลับกัน
หากร่างกายได้รับความเสียหายแต่กระดูกยังอยู่ ก็ยังจะพอไปต่อได้



ข้างล่างเป็นแบบทีแกะมาจากสิงโต โดยแกะมาจากรูปสามเหลี่ยม ยังไม่ดีนะเดี่ยวจะค่อยๆปรับ




โปรแกรม3dจริงๆแล้วทําไม่เป็นแต่ก็อยากลองๆดู
ใครที่เก่งๆจะมาสอนบ้าง ก็จะประเสริฐเลิศเลอมาก
อันสุดท้ายก็ลองขึ้นโครงของวงกลมดู


1/04/2551

เอ๋ ทางไหนดี

หลังจากได้อยู่กับจุดและเส้นมาระยะเวลาหนึ่งก็ได้พบหัวข้อที่น่าสนใจมาศึกษาดังนี้
1 เรื่องของการกินพื้นที่
2 เรื่องของการชี้นําจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
3 เรื่องของระดูก

ซึ่งก็คงนัาพวกนี้มาศึกษาต่อหลังจากง่วงอยู่กับพวกจุดและเส้น
แต่ก็คิดว่ามันก็มีอะไรที่สามารถดึงมาใช้ในสามอย่างนี้ได้

ส่วนข้างล่างไม่มีอะไร แค่ฝึกลองทําให้เข้ากับหัวข้อการชี้นํา คือจริงๆอนากลองฝึก
เพราะคิดว่าหัวข้อหรือสิ่งที่เราเลือกมาทํามันมีการเคลื่อไหวแน่ๆไม่ว่าจะเป็นหัวข้อ
ไหนก้ตามเหอ