1/27/2551
ศักยภาพของหน่วยย่อย
จากคราวที่แล้วได้บอกไว้ว่าไม่ควรมองหน่วยย่อยแต่ละหน่วยแค่จํานวน แต่ต้องพิจารณาที่คุณสมบัติหรือศักยภาพด้วย
ตัวอย่างจากคราวที่อยู่ให้ห้อง ถ้าผมต่อยกับเพื่อน คงไม่มีผลต่อหน่วยใหญ่ แต่หากประธาณาธิบดีไปทะเลาะกับ
คนมีอํานาจเช่นกัน ย่อมทําให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวม จากตรงนั้นเราก็ลองไปดูกันที่การทํางานของผึ้ง และมด
ผึ้งและมดจัดได้ว่าเป็นสัตว์สังคมที่อยู่ด้วยกันอย่างมีระบบระเบียบมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน
ถึงแม้ว่าเรามองด้วยตาเปล่าอาจจะเห็นมันเป็นแค่ผึ้งหรือมดที่ก็คล้ายๆกันนั้นแหละว่ะ
แต่ผึ้งหรือมดแต่ละตัวก็มีหน้าที่หรือศักยภาพที่แตกต่างกันไป ผึ้งงานต่อยกับผึ้งงาน ก็อาจจะ
เสียแค่ผึ้งงานสองตัว ไม่ได้มีผลกระทบจนทําให้รังเสียหายหรือทําให้เรามองเห็นได้ ในขณะเดียว
กันถ้าผึ้งนางพญาหรือมดนางพญา ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลการทํางานในรังโดยใช้ฟีโรโมน
เป็นตัวออกคําสั่งสือสาร และยังเป็นตัวให้กําเนิดประชากรที่ทัาหน้าที่ต่างๆในรัง จนพูดได้ว่า
เป็นผู้กําชะตาของรังนั้นเลยทีเดียว ฉะนั้นคิดว่าแน่นอนถึงรูปร่างจะไมไ่ด้ต่างกันจนแยกได้ง่าย
แต่ในหน่วยย่อยแต่ละหน่วยย่อมมีหน้าที่ และศักยภาพ ผลกระทบต่อวงกว้างที่ไม่เท่ากัน
เพราะฉะนั้น ผมคิดว่า ไอ้หน่วยย่อยที่มีหน้าที่ควบคุมหรือมีผลกระทบต่อหน่วยใหญ่
ก็ยิ่งต้องมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่มาก ถ้าทํางานได้ดี หน่วยย่อยก็น่าจะดีตามไปด้วย
ในขณะเดียวกันถ้าแย่ หน่วยย่อยก็มีผลกระทบแน่นอน
หน่วยที่ส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นก็น่าจะเห็นแก่ส่วนรวมไม่ว่าจะทําอะไรก็ตามไม่ควรทําเพื่อจุดๆหนึ่งหรือกลุ่มๆหนึ่ง หากแต่ควรมองและคํานึงถึงภาพรวมเสมอ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น