11/11/2550
คุณสี่เหลี่ยมเจ้าปัญหาแห่งสถาบัน Bauhaus
สืบเนื่องจากเรื่องของสถาบัน Bauhaus ทําให้ได้ปมคําถามมาหลายปม ซึ่งข้าพเจ้าเองก็เป็นคนที่ไม่ถนัดในการแก้ปมต้่างๆมาตั้งแต่ตอนเรียนลูกเสือสํารอง
จึงต้องรบกวนพี่สี่เหลี่ยมเปลี่ยนหัวใจ มาช่วยแก้ปมเหล่านี้
เรามาเริ่มกันที่คําถามแรกเลยดีกว่า
1. Bauhaus Dutch และ swiss เกี่ยวข้องกันยังไง
และมีอิทธิพลต่อยุโรปยังไงหรอครับพี่
สี่เหลี่ยมเปลี่ยนหัวใจ เงยหน้าพร้อมทั้งหัวเราะเบาๆ ก่อนที่จะตอบว่า
" มันสืบเนื่องจากเศรษฐกิจทางสังคมและการเมืองมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อแนวความคิดใน
การออกแบบรูปทรงและสถาปัตยกรรมและแนวความคิดของยุโรปซึ่งมีปัจจัย สำคัญดังนี้
ก. ปัจจัยทางสงคราม ซึ่งทำให้เกิดความเร่งรีบในหลายๆอย่าง การขวนขวายเรื่อง
เทคโนโลยี จึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยพัฒนาภายใต้เงื่อนไขในเชิง
ปริมาณ และระบบการคิดซ้ำๆซึ่งมีมาตรฐาน เดียวกันแบบสำเร็จรูป
ข. ปัจจัยของจำนวนประชากร มีการโยกย้ายเข้าสู่เมืองใหญ่ ทำให้ต้องมีการจัด
ระเบียบของชุมชนใหม่งานออกแบบทางสถาปัตยกรรม
จึงต้องสอดคล้องและตอบสนองกับปัญหารีบด่วนเหล่านี้
ค. ปัจจัยทางการเมืองและการปกครอง ซึ่งส่งเสริมเสรีภาพและความเสมอภาคโดย
ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ทางความคิดและการกระทำในแนวทางใหม่จึงเกิดขึ้นอย่างมากมาย"
2. สถาปนิกแต่ละคนเป็นยังไงและทำไมจึงมีความคิดแบบนี้ ทำไมจึง
มีลักษณะของงาน ที่ออกมาคล้ายกันจังพี่
พี่สี่เหลี่ยมเปลี่ยนหัวใจขอเวลานอกคุยกับน้องสามเหลี่ยมสุดสวยเพื่อจะปรึกษากันเรื่องนี้ก่อนจะ ยิ้มแล้วตอบว่า
"จากแนวคิดที่ต้องการตอบสนองทางด้านอุตสาหกรรมและ เทคโนโลยีโดยสถาปนิกแต่ละคนมีแนว
ความคิดที่เรียกว่า “วัตถุวิสัยเชิงเหตุผล” ซึ่งให้ความสำคัญกับวัสดุใหม่ทางอุตสาหกรรมเพื่อ
ตอบสนองสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่งานถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนอง
ศาสนา หรือความคิดส่วนบุคคล
William Morris – เป้นผู้เริ่มต่อต้านศิลปะลักษณะ Non-functionalrole (ไม่มีหน้าที่ใดๆ) ซึ่งได้ก่อต้องบริษัทที่รวมเอาศิลปินหลากหลายสาขามาทำงานในรูปแบบของ workshop ใน คศ. 1861 ซึ่งมีลักษณะ คล้ายกับการเรียนการสอนของ Bauhaus ที่มีการนำอาจารย์ในสาขาต่างๆมาสอนนักศึกษา
Henry van de Velde – สถาปนิกและนักออกแบบชาวเบลเยี่ยมได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก Morris ในการค้นหาทางออกที่กลมกลืนระหว่าง เครื่องจักร ช่างฝีมือ ศิลปะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนในทุกระดับ จากการที่เค้าทำงานทางด้านทฤษฏีและปฏิบัติ เขาจึงได้พยายามเผยแพร่แนวคิดเรื่อง สุนทรียภาพเชิงอุตสาหกรรม เพื่อสร้างการยอมรับจากสังคม บทบาทที่สำคัญที่สุดของเขาเกิดขึ้นในเยอรมันนี เขาได้จัดระเบียบองค์กรใหม่ให้กับ Art and Crafts school และ Academy of fine arts ในไวมาร์ เมื่อ คศ. 1912
Hermann Muthesius มีส่วนช่วยในการก่อตั้งสมาคม Deutscher werkbund ซึ่งเป็นสมาคมของโรงงานผู้ผลิตสถาปนิกศิลปิน นักเขียนโดนมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาทิศทางใหม่และหามาตรฐานในการออกแบบเชิงหน้าที่ โดยมีพื้นฐานอยู่บนเครื่องจักรกล
ความพยายามเพื่อหาการยอมรับการใช้วัสดุใหม่และวิธีทำงานของอุตสาหกรรมที่ใช้เหตุผลควบคุม และสังคมแงอุตสาหกรรมายังคงดำเนินต่อไปเมื่อ วอเตอร์ โกรเพียส ได้สืบทอดตำแหน่งผู้อำนวย Weimar school of art ต่อจาก Henry van de Velde ซึ่งโดรงเรียนนี้ได้กลายเป็น Bauhaus ในคศ. 1919"
หลังจากตอบคําถามนี้พี่สี่เหลี่ยมของเราก็ได้ขอตัวไปเข้าห้องนํ้าซึ่งจริงๆ ข้าพเจ้าขอเดาส่งเดชว่า แกคงแอบไปโทรหาน้องวงกลมกิ๊กใหม่สุดของแก ที่เพิ่งจะไปพบกันที่บาร์ดังแห่งหนึ่งย่านทองหล่อ
ผ่านไป...10นาทีพี่แกก็มานั่งพร้อมให้เราถามอันอีกครั้ง ผมจึงเริ่มถามแกต่อ
3. สิ่งที่ประชาชนในไวมาร์ต่อต้าน Bauhaus คืออะไรครับพี่
พี่สีเหลี่ยม ทําสีหน้าเครียด จนสามารถเห็นถึงรอยยับบนกระดาษแข็งสีเขียวได้อย่างชัดเจน
ก่อนที่พี่แกจะยืนปากมาข้างๆหูผมว่า "รู้แล้วเมิงเหยีบไว้เลยนะ"
"มันสืบเนื่องจากการที่เยอรมันใน คศ.1919 สาธารณะรัฐ ไวมาร์ ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ การที่ประเทศชาติต้องยอมเซ็นสนธิสัญญาแวร์ซายน์
นอกจากนั้นยังต้องชำระค่าปฏิกรรม 6,500 ล้านปอนด์ เป็นสภาวะที่ประชาชนสุดแสนจะทานทนชาวเยอรมันหาเงินมาได้เท่าไหร่ก็ต้องส่งเป็น
ภาษีให้รัฐบาลทั้งหมด รัฐบาลเยอรมันนีไม่กล้าขึ้นภาษีอะไรอีกแล้วเนื่องจากคนจนของเยอรมันไม่สามารถทำอะไรได้อีกแล้ว
การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีส่วนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และยังเป็นการแย่งอาชีพจากชนชั้นกรรมกร ทำให้ประชาชนบางส่วนไม่พอใจใน Bauhaus เนื่องจากนโยบายของสถาบันซึ่งสนับสนุนในเรื่องของการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นแล "
หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้ถามคําถามต่อไปโดยไม่รีรอให้พี่แกแอบไปขี้เกียจ
4. ที่มาของรูปทรงเลขาคณิตในงานของ Bauhaus คืออะไรครับ
พี่สีเหลี่ยมยิ้มพร้อมทั้งทําสีหน้าภาคภูมิใจก่อนที่จะตอบว่า
" พวกพี่เกิดจากวิธีความคิด “ วัตถุวิสัยเชิงเหตุผล” การคิดทุกอย่างด้วยหลักเหตุและผลเพื่อตอบสนองต่อสภาพสังคมและการปฏิวัตอุตสาหกรรมซึ่งมีบทบาทมากในสมัยนั้นจึงเกิดการผสมกลมกลืนของวิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์โดยสิ่งเหล่านี้ถูกนำไปประยุกต์กับวัตถุที่มีไม่มีคุณค่าทางศิลปะ และสิ่งเหล่านี้เองทำให้เกิดการสร้างรูปแบบที่เรียบง่าย พื้นฐานที่สุด ตัดทอนในสิ่งที่ไม่จำเป็น และทำงานจากปัญหา"
ทันทีที่พี่สี่เหลี่ยมตอบข้าพเจ้าก็ใช้วิธีเดิมคือรีบยิงคําถาม แต่พี่สี่เหลี่ยมแกขอพักแปปหนึ่ง
เราจึงนั่งจิบกาแฟจากไอเวอรี่โคส พร้อมทั้งพูดคุยกันถึงเรื่องการเมืองก่อนที่จะวกกลับเข้ามาเรื่องเดิม
5. แนวความคิดของเบาเฮ้าส์ดํารงอยู่ได้อย่างไรในปัจจุบันหรอครับ
พี่แกพยักหน้าพร้อมทั้งตอบทันทีว่า
"ถึงแม้สไตล์งานจะไม่ได้ถูกนํามาใช้แบบในอดีต แต่วิธีการคิด การแก้ไขปัญหาด้วยหลักเหตุและผลได้ถูกนำมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบปัจจุบัน "
หลังจากนั้นผมก็ได้บอกพี่แกว่า จะถามเรื่องนี้เป็นเรื่องสุดท้ายแล้ว พี่แกแสดงออกทางสีหน้าอย่างพึงพอใจเป้นที่สุดก่อนจะ
ยกมือแล้วกวักปลายมือเข้ามาเหมือนกําลังท้าทายคัาถามสุดท้าย
6. ทําไมพรรคนาซีจึงสั่งปิดสถานบันเบาเฮาส์หล่ะพี่
พี่สี่เหลี่ยมถึงกับสั่นกับคําถามนี้พี่แก ชี้แจงรายละเอียดว่าเจ้านายของแกเป็นสังคมนิยม ซึ่งตรงข้ามกับพวก
ชาตินิยมอย่าง พรรคนาซี พี่สี่เหลี่ยม สูดหายใจแรงมากก่อนที่จะกัดฟันพูดออกมา
"เนื่องการที่ สถานบัน Bauhaus เป็นสถาบันที่ปลูกฝังความคิดในเชิงก้าวหน้า และสนับสนุนในเชิงอุตสาหกรรมซึ่งสามารถเห็นได้จาก
การตอบรับอย่างดีของเมือง เดลซาร์ ซึ่งเป็นเมืองที่กำลังมีการขยายและพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม โดยตัวสถาบันและนโยบายล้วนเอื้ออำนวยต่อระบบสังคมนิยมซึ่งขัดต่อระบบชาตินิยมของพรรคนาซี"
ข้าพเจ้าและเพื่อนกล่าวขอบคุณพี่สี่เหลี่ยมก่อนที่เราจะแยกจากกันไปคนละ way พี่สี่เหลี่ยมยัง
ใช้ข้้าพเจ้า ให้รับโทรศัทพ์ของน้องสามเหลี่ยมเพื่อที่จะยืนยันว่าแกไม่ได้อยู่กับน้องวงกลม
อ้างอิง
- Bauhaus 1919-1933 โดย Benedikt taschen
- Bauhaus โดย Frank Whitford
- ITTEN Element of color โดย Johannes Itten
- Disign and Form โดย Johannes Itten
- Swiss Graphic Design โดย Richard Hollis
- 30 Essential Typefaces for a lifetime โดย Imin Pao and Joshua Berger
- World war I โดยปรีชา ศรีวาลัย
- ประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่ปี ค.ศ.1815-ปัจจุบัน เล่ม 1 โดย สุปราณี มุขวิชิต
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น