-------------------------------------------------------------------------------------
หลังจากที่ class communication design ได้ตอบคําถามเรื่อง “ มีวิธีใดบ้างที่จะช่วยเพิ่มหรือส่งเสริมความรู้ทางการออกแบบบ้าง ” ในใจผมก็คิดขึ้นได้ว่า ปกติเวลาเดินในพารากอน หรือห้างเดิ้นๆ ( ห้างที่เจริญทางด้านการออกแบบแล้ว ) ก็จะพยายามสังเกตุสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ซึ่งมันก็น่าจะเป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มความรู้ทางด้านการออกแบบ แต่ในขณะที่ผมกําลังคิดและเคี้ยวลูกอมเลมอนของยี่ห้อริโคล่าอยู่นั้น เพื่อนผม ( ไอ้โอ ) มันก็ได้ตอบว่าไปเดินตามที่ต่างๆแล้วก็สังเกตุสิ่งต่างๆ ซึ่งผมก็เห็นด้วยกับมันนะ เพียงแต่บางทีการเลือกเดินตามห้างเดิ้นๆเนี่ย มันจะได้เห็นสิ่งที่มีการปรุงแต่งและมีการโรยผงชูรสแท้โดยนักออกแบบที่มีคุณภาพ เลยเอื้อนเอ่ยวาจานี้เสริมต่อจากมันไป แล้วทันใดนั้นเอง!! อาจารย์ที่เคารพก็ได้มอบหมายหน้าที่ให้ไปทําไอ้เรื่องนี้มา เอาหล่ะไปดูกันดีกว่า ว่าผมได้้อะไรมาบ้าง
ขอแนะนําผู้ร่วม Trip การไป ครั้งนี้ ( เพลงประกอบของ 20 century fox ขึ้น )
1 คุณเนท (ฉัตรณรงค์ จริงศุภธาดา ) ไปพร้อมอุปกรณ์กล้องมือถือ Sony Ericsson K790i พร้อม
สําหรับการหลบเลี่ยง ยามหรือผู้เฝ้าระวังคนมาตักตวงความรู้จากสถานที่ศักดิ์สิทธ์ไป
2 ไอ้โอ ( พงศธร ตั้งสะสม ) ไปพร้อมอุปกรณ์ Nokia N70 กับกล้องดิจิตอลที่มันไม่เคยหยิบขึ้น
มาใช้เลย แล้วถือมาทําไมว่ะ - -
3 คุณ ฟานเชสโก้ โมวริชชี่ ( วริทธิ์ ไชยกูล ) ไปพร้อมกับร่างกายที่มารดาและบิดาให้กับเนิดมา
พร้อมกับเป้สะพายข้าง เพื่อให้ไอ้โอมันฝากของ และให้ยามมันค้นหาระเบิดเล่น
หลังจากที่ลงจากรถไฟฟ้า สถานนีสยามเพื่อไปยัง สยามพารากอน ด้วยราคาบัตร 25 บาท ( โดยต้องเสียเวลา และแลกเหรียญมาหยอดเพราะตู้มันไม่มีระบบทอนเงินที่เป็นธนบัตร ) ผมก็เดินผ่านปติมากรรมเหล็กที่เอาไว้ตรวจสอบหาจรวดนิวเคลียร์ในกระเป๋า และก็ได้มาพบกับ Brand ชั้นนําต่างๆทางด้านเสื้อผ้าของโลก ซึ่งปกติก็ดูมันอยู่แล้ว ก็เริ่มเอากล้องมาถ่ายสิ่งที่น่าสนใจและน่าสงสัย โดยเริ่มดูจากวัสดุที่นํามาใช้ในการตกแต่งร้าน ไม่ว่าจะเป็น กระจก ไม้ พลาสติก หรือแม้กระทั่งหิน ซึ่งถูกนํามาทําเป็นlogoแปะโชว์พาวไว้หน้าร้าน รวมทั้งยังถูกนํามาใช้ในส่วนประกอบต่างๆของร้านอีกด้วย
------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------
หลังจากได้ให้สมองเมล็ดถั่วที่ยังไม่งอกได้คิดวิเคราะห์แล้วก็จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้ Material ( วัสดุ ) ในงานออกแบบก็เป็นอีกสิ่งที่จะทําให้ร้านๆนั้นดูเก๋หรือเสี่ยว ลองนึกถึงพวกร้านที่มันเลือกใช้วัสดุที่ไม่ได้ผ่านคิดด้วยก้อนโปรตีนในศีรษะดูสิ สีของวัสดุที่ดูเฉิ่ม การไม่เข้ากันของวัสดุ และอื่นๆ ถามว่าทําไม Gucci ( กุดจี่ ) ถึงต้องใช้หินแกรนนิตสดํามารองรับตัวโลโก้ นั่นก็เพื่อที่จะได้ Mood & Tone ที่ดูเรียบหรูซึ่งมันก็จะโยงไปถึงตัวสินค้าสุดแพงตะไลของมันได้อีก หรือว่าทําไมบางร้านถึงต้องใช้วัสดุธรรมชาติ เช่นไม้หรือหิน ไม้หรือหินมันพูดอะไรบ้างหรือเปล่า? ความรู้สึกผมหลังจากที่เห็นร้านที่ใช้วัสดุรองรับเป็นหินหรือไม้ ก็รู้นึกคิดถึงธรรมชาติซึ่งมันเป็นตนตอ กําเนิดของไอ้สิ่งเหล่านี้ก่อนที่ อากง อากู๋ จะเอามาทําให้มันสําเร็จรูปพร้อมขายแบบมาม่า ซึ่งวัสดุสองอย่างนี้มันก็พูดต่างไปจากไอ้ Gucci หรือแม้แต่ในตัวมันสองคนก็ให้ความรู้สึกที่ต่างกันเพราะฉะนั้นสิ่งแรกเลยที่ได้เรียนรู้จาก
การมาเดินที่นี่ก็คือเรื่องวัสดุ เลือกให้ตรงกับลักษณะร้านที่เราทํา เอาเลือกให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการพูด และเลือกให้มันดูมีชาติกระกูล
อย่างร้านขายเสื้อผ้าหรูๆและแพงชิบหายอย่างหลุยส์ติงต๊อง ก็คงไม่มีใครทะลึ่งเอาฟิวเจอร์บอดร์สีเหลืองไปตกแต่งหรอกมั้ง อยากจะแนะนําว่าถ้าเราต้องการสังเกตุและวิเคราะห์เรื่องวัสดุจากร้านต่างๆก็คงจะต้องมา
ดูและซึมซับเอาจากสถานที่จริงเหมือนกับที่ Jack แบก Rose ไปไว้หน้าเรื่อไททานิกและให้กางแขนเพื่อซึมซับและเข้าใจในระบบนิเวศน์ทางทะเล
พอเดินพร้อมกับแอบถ่ายรูปต่างๆต้วยกล้องมือถือโดยใช้หลังของ ฟานเชสโก้ (ถ้าใครไม่รู้จักมันกรุณาย้อนขึ้นไปดูตรงแนะนําตัว ) บังขณะถ่ายภาพเพื่อเป็นการหลบเลี่ยงผู้อารักขาของพารากอนแล้ว ก็ได้เกิดปัญญาในเรื่องของ “ Size and Graphic หรือ ขนาดกับงานกราฟิก “ เลยต้องอ้อนวอนขอให้ คุณฟานเชสโก้ไปยืนตามป้ายต่างๆแทนที่จะยืนบนเวทีนายแบบอย่างที่เคยทําเป็นประจํา เพื่อวิเคราะห์เรื่องขนาดของกราฟิกกับสิ่งแวดล้อม
---------------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------------------
-----------------------------------------------------------------------
จริงๆก่อนหน้านี้ตั้งใจจะเอาตลับเมตรมาเพื่อใช้ในการวัดขนาดสิ่งต่างๆ แต่คิดว่าผู้อารักขาของทางสยามพารากอน คงจะไม่ยอมให้วัดเป็นอันแน่แท้ เลยตัดสินใจที่จะไม่เอามา ซึ่งก็โชคดีที่ไม่เอามาเพราะขนาดแค่ถ่ายภาพด้วยกล้องมือถือแสนธรรมดา ยังโดนสายตาที่แฝงไปด้วยจิตสังหารของการสู้รบจ้องมองอยู่เป็นระยะเวลานาน เลยจะไม่มีมีตัวเลขขนาดหรืออะไรมาให้ดูกันหรอกนะ เพียงแต่ว่าลองดูจากภาพที่ไม่ค่อยชัดแล้วคิดตามละกัน ขนาดของตัว โลโก้ กราฟิกต่างๆ ไทพอกราฟฟี่ หรือสิ่งที่ต้องการสื่อสาร มีส่วนสําคัญมากที่ต้องทําให้คนที่ไม่ได้ตาบอด หรือสายตาสั้นแล้วลืมใส่อุปกรณ์ในการช่วยมองมา ได้มองเห็นสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร จากภาพร้าน Burberry จะเห็นได้ว่าสามารถมองจากต้นทางที่เลี้ยวเข้ามา ซึ่งก็ถือว่ามันก็ประสบความสําเร็จในเรื่องเกี่ยวกับขนาดและการมองเห็นในระดับหนึ่ง ตัวฟานเชสโก้ที่ยืนเทียบอยู่ นั้นสูงราวๆ 170 เซนติเมตร ตามมาตรฐานชายไทย ( แต่ชื่อโครตต่างชาติเลย ) ตัวป้ายก็น่าจะอยู่ราวๆ 160-180 cm จากระดับพื้นหินอ่อนที่มีแม่บ้านรอจะถู ซึ่งไอ้ระยะหรือขนาดของตัวอักษรพวกนี้ มันไม่สามารถดูได้จากหนังสือได้หรอกถ้ามันไม่ได้ไปวัดมาให้ ต่อมาไอ้ภาพของชั้นต่างๆในพารากอน ถ้าไปดูของจริงใกล้ๆแล้ว จะเห็นไอ้ว่าขนาดมันใหญ่ชิบเป้งเลย ถ้ากดในโปรแกรมมันจะกี่ point ว่ะเนี่ย !! แต่มันก็สามารถทําใหคนที่เป็นมือวางอันดับต้นๆในการหลงชั้นอย่างผมที่อยู่ในชั้น2 สามารถรู้ได้ว่าไอ้ชั้นอะไรมันอยู่ตรงไหนบ้าง เพราะฉะนั้นการดูเรื่อง ขนาดและระยะจึงเป็นอีกสิ่งที่น่าจะช่วยเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการออกแบบในสถานที่จริงให้คุณได้ เพราะเวลาที่งานออกแบบถูกนํามาใช้ในสถานที่จริง ย่อมต้องมีการคํานึงถึงการมองเห็นอย่างแน่นอนแช่แป้ง หลังจากเดินมาซักพักไอ้สิ่งมีชีวิตสองตัวข้่างๆผมก็บ่น อยากที่จะหาของกินเพื่อไปสู้กับนํ้าย่อยในกะเพราะอาหาร เลยเดินพร้อมกับคิดว่าจะกินที่ีไหนดี แล้วก็มาจบที่ KFC ร้านที่วันๆมันสังหารไก่หมู่แบบที่ในยุคนาซีที่สังหารโหดชาวยิว พอรับประทานไก่ด้วยระบบการรัปประทานอาหารของผู้ดีเก่าแล้ว ( เศษแป้งที่ใช้หุ้มหนังไก่กระจายโดยถูกจัดวางด้วยโพสิชั่นที่สวยงามไว้อย่างเต็มโต๊ะ ) เราก็รีบปัดก้นหนีจาก KFC แล้วก็เริ่มสังเกตุสิ่งต่างๆต่อ ก็คิดถึงเรื่องที่ร้านที่ดูดีมีชาติตระกูลก็มักจะมีการคุม Mood & Tone ไล่ตั้งแต่หน้าร้าน ก็จะมี Logo, Displayหน้าร้าน ประตู เรื่องของการจัดแสง ส่วนในตัวร้าน ก็มี แท่นวางสินค้า ตู้วางสินค้า ของตกแต่งในร้าน สีกําแพงหรือวอเปเปอร์ภายในร้าน การจัดแสงในร้าน หรือแม้กระทั่งไอ้ของที่มันขายอยู่ในร้าน ซึ่งถ้าเจอร้านที่มันคุม Mood & Tone ให้ไปในทิศทางเดียวกัน ก็จะทําให้ร้านดูมีบุคลิกที่ชัดเจนจริงขึ้น บงบอกได้ว่าไอ้ร้านนี้คือร้านขายอะไร ขายกับให้คนวรรณะไหน mood & Tone จึงเป็นอีกเรื่องที่สําคัญในการออกแบบกับสถานที่จริง
------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------
อย่างภาพของร้าน ฺPorsche Design ก็จะเห็นในถึงการคุม Mood & Tone โดยใช้สีดําในที่ต่างๆทั้งภาพในและนอกร้าน ไล่ตั้งแต่ป้ายหน้าร้าน displayที่ถูกคู่รักสูงวัยบังไว้ส่วนนึง แท่นตั้งของ ไปจนถึงสินค้าภาพในร้าน นอกจากนั้นวัสดุที่นํามาใช้ในการออกแบบร้าน ก็ถูกคุมให้ไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบ่งบอกถึงตัวตนของร้าน หรือในรายของร้าน Escada ก็มีการใช้สิ่งของตกแต่งที่เป็นโคมไฟที่ถูกคิดค้นยุคที่ผมยังไม่ได้เกิดออกมา ทําร้านก็ดูออกไปทางยุโรปย้อนยุคหน่อย
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการคุม Mood & Tone ก็เป็นอีกเรื่องที่โครตจะสําคัญถ้าต้องการจะบ่งบอกตัวตนของร้านให้ชัดว่า กูคือใคร กูขายอะไร กูแพงอ๊ะเปล่า ซึ่งไอ้เรื่องพวกนี้ก็สามารถมาดูและคิดให้สมองมันได้ใช้งานได้ตามห้านเดิ้นๆทั่วไป
หลังจากนั้นกลุ่มชายชาตรีอย่างพวกเราก็เดินข้ามรถ ข้ามถนนที่การจราจรโครตจะสะดวกสบายด้วย sky walk!! โดยการอนุเคราะห์ของทาง central world ใช่แล้วเราจะไปดูอะไรที่น่าสนใจ ใน Central world ให้เป็นของแถมอีก แต่ไว้ติดตามต่อตอนหน้านะ ขอขอบคุณทุกท่านที่มามาถึงช่วงนี้เข้าใจว่าตอนนี้คงอยากจะพักสายตาเหมือนกันสินะ เอาเป็นว่าถ้ายังมีการหมุนเวียนของก๊าส อ๊อกซิเจนและคาร์บอนไดอ๊อกไซต์ที่จมูกอยู่ก็จะมาเล่าต่อ บอกใบ้ก่อนว่าไอ้ที่ Central world เนี่ย ตัว signage ต่างๆค่อนข้างน่าสนใจ เพราะถูกออกแบบโดย Design Studio ที่ผมเคยมีโอกาสได้เข้าไปทํางานราวๆ3 วัน ในฐานะ Layout Boy 555 เอาหล่ะขอบคุณอีกครั้งที่อ่านมาถึงตรงนี้ ไว้เจอกันใหม่่โอกาสหน้า
( ขอขอบคุณ อาจารย์วีร์ วีระพร ที่ร่วมสนทนาตัวอักษรผ่านทางโปรแกรม Msn
ขอบคุณเพื่อนทั้งสองตัวที่ไปช่วยคิดพร้อมทั้งอํานวยความสะดวกด้วย )
1 ความคิดเห็น:
ฝากขอลายเซ็นคุณฟานเชสโก้ด้วย
ติดใจตงโลโก Burberry มากมาย :)
แสดงความคิดเห็น