11/04/2550

สถาบัน Bauhaus แก๊งค์เรขาคณิต เข้าเส้น !!











คราวนี้มีเรื่องของสถาบั
นสอนศิลปะในสมัยก่อนมาเล่าให้ฟัง สือบเนื่องจากได้รับงานมาจาก ท่านอาจารย์ที่แสนเคารพ ทําให้เกิดปรากฏการณ์ ที่กลุ่มผมเรียกมันว่า “ งานเข้า “ ทําให้ชายทั้ง3คนซึ่งก็คือ 1. คุณ เนทผู้แสนสุภาพ ( ผมเอง ) 2. คุณชาย ฟานเชสโก้ โมวาริชชี่ ( นายแบบระดับโลกซึ่งสนใจในงานออกแบบ ) 3.ไอ้ไหว่ (...) ต้องมาสุมหัวกันในห้องสมุดโดยใช้วาจาผู้ดี คุยกันด้วยระดับเสียง 90 เดซิเบล จนพี่คนที่จัดหนังสือหันมามองหน้าพร้อมทั้งส่งรอยยิ้มแสนหวาน เหมือนกับเป็นภาษากายว่า “ พวกเมิงเบาๆหน่อย “ นอกเรื่องไปนิดขอโทษครับ พวกเรามาสุมหัวกันว่า ไอ้ Bauhaus คืออะไรว่ะ? จริงๆแล้ว ชื่อนี้เคยได้ยินมาก่อนเนื่องจากเรียนผ่านมาแล้วในชั้นปีที่2 และผมก็ได้คืนอาจารย์ไว้เพื่อสอนต่อรุ่นน้องไว้ ณ ตอนนั้น หลังจากที่ผม และ คุณ ฟานเชสโก้ ได้ทําการหอบหนังสือมาจํา นวนมหาศาล กก็เริ่มกระจายหนังสือและแบ่งกันดู แน่นอนสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้คือ ไม่มีใครยอมอ่านเอาแต่ดูรูปผลงาน เนื่องจากทักษะทางภาษาอังกฤษขัดข้อง แต่มันกลับทําให้กลุ่มยอดนักสืบจิ๋วได้ค้นพบปมและประเด็นในการสืบสวนซึ่งมีประเด็นที่น่าสงสัยดังต่อไปนี้

1. เบาเฮ้าส์น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ Swiss แล
ะ Dutch Design
2. เนื่องจากผู้ก่อตั้งเป็นสถาปานิก จึงเป็นไปได้ไหมว่า จะนําความรู้ทางด้านสถาป
นิกมาใช้ในการ
สร้าง
งานและการสอนแก่นักเรียน
3. ที่ใช้รูปทรงเลขาคณิตในงาน มีส่วนทําให้งานดูร่วมสมัยหรือเปล่า


หลังจากที่ได้ปมปริศนาแล้ว ทําให้ต่อมสอดรู้สอดเห็นซึ่งติดตัวคนไทยมาแต่กําเนิดเริ่มทํางาน ( ในกรณีนี้คุณฟานเชสโก้ คงจะรู้สึกน้อยกว่าคนอื่น เพราะเป็นลูกครึ่งที่ไม่มีเชื้อไทยอยู่เลย ) ทันใดนั้นเอง ผมลุกขึ้นด้วยไฟอันแรงกล้า พร้อมกับบอกสมาชิกอีกสองคนว่า “ กลับกันเหอกุเหนื่อยแล้ว ” ดังนั้นการสืบสวนจึงจบลงที่ยังไม่ได้หาคําตอบ แต่เหมือนพระเจ้าเหลือบมาเห็นพวกผมพอดี จึงประธานให้ผมได้พบกับ อาจารย์ปีใหม่ ( นามสมมุติ ) ซึ่งท่านเป็นคนสอนเรื่อง ประวัติศาสตร์กราฟฟิกใน ชั้นปีที่2 ผมจึงรีบเข้าไปทักทายท่านพร้อมกับ หยอดปมปริศนาพวกนี้ให้ท่านไป ซึ่งท่านก็ได้ยิ้ม ดุจแม่พระผู้มีเมตตาพร้อมกับพูดว่า “ นี่ไอ้ที่สอนไปทั้งนั้น สอนไปแล้ว “ ก่อนที่ท่านจะยิ้มและบอกต่อว่า “ จริงๆแล้วงานมันแค่คล้ายกันแต่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว เนื่องช่วงเวลานั้นเกิดเหตุการ์บางอย่างพร้อมๆกัน ซึ่งส่งผลต่องานออกแบบ “ ผมกล่าวขอบคุณพร้อมกับกราบแกด้วยท่า เบญจาคประดิษฐ์งามๆ 1ครั้ง เวลาล่วงเลยผ่านไป เมื่อเริ่มตั้งใจอ่านภาษาอังกฤษที่อยู่ในหนังสือก็ได้รู้เรื่องราวต่างๆอย่างชัดเจน ซึ่งต่อจากตรงนี้จะเป็นประวัติของ สถาบัน Bauhaus อาจจะวิชาการนิดนึง ถ้าใครรับไม่ได้หรือขี้เกียจอ่าน ก็กรุณาเลื่อนเม้าส์ข้ามโซนเส้นเขียวไป เดี๋ยวข้างล่างจะมีสรุปแบบสั้นๆให้ไม่ต้องกลัวไม่ได้สาระ

---------------------------------------------------------------------------------

สถาบันการศึกษา Bauhaus

สถาบันศิลปะเบาเฮาส์หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า The Bauh
aus School of Art, craft, and design ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยสถาปนิกที่ชื่อว่า Walter Gropius ที่เมืองไวมาร์ ประเทศเยอรมันนี ในปี ค.ศ. 1919 คำว่า เบาเฮาส์ (building house)นั้น เป็นการสะท้อนถึงต้นตอกำเนิด ในความคิดแบบสังคมนิยม ที่เกี่ยวพันกับขบวนการเคลื่อนไหว ทางด้านงานศิลปะและงานฝีมือ ซึ่งไม่ใช่อย่างเดียวกันกับ ความพยายามในช่วงต้นๆในการรื้อฟื้นพลังเกี่ยวกับ ผลิตผลทางงานฝีมือขึ้นมาใหม่ และแม้ว่าสถาบัน Bauhaus จะมุ่งสอนในลักษณะของแนวก้าวหน้าให้อิสรภาพทางความคิดอย่างเต็มที่และต้องการพัฒนาสังคมแต่ความคิดเช่นนี้กลับทำให้สังคมตอบรับอย่างเชื่องช้าและส่งผลกระทบต่อสถาบันในท้ายที่สุด ก่อนการตั้งสถาบันศิลปะ Bauhaus ที่จริงแล้วก็มีโรงเรียนที่สอนทางด้านศิลปะอยู่แล้วบ้างบางโรงเรียน ก็เน้นหนักไปในทางพาณิชย์ศิลปะ ส่วนบางโรงเรียน ก็เน้นไปด้านวิจิตรศิลป์ ส่วนสถาบันศิลปะ Bauhaus นั้นได้นำทั้งสองอย่างมารวมกันซึ่งทำให้อาจารย์ซึ่งสอนอยู่ในสถาบันศิลปะเดิมไม่สามารถที่จะปรับตัวเข้ากับ Bauhaus ได้ การเรียนการสอนของ Bauhaus นั้นเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปินซึ่งมีความสามารถทางด้านของรูปทรง( Master of form ) ให้มาสนใจในด้านการฝีมือในขณะเดียวกัน ก็ให้ศิลปินที่มีความสามารถใน ทางฝีมือ ( Shop Master) ให้กลับมาสนใจในความคิดสร้างสรรค์ละเรื่องของรูปทรง


การเรียนการสอนในสถาบันเบาเฮ้าส์


ส่วนหนึ่งซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของสถาบัน Bauhaus คือสถาบันศิลปะแห่งนี้เน้นในเรื่องการสนทนาระหว่าง ผู้สอนกับนักศึกษาโดยถือว่าการพูดคุย นั้นเป็นสิ่งสำคัญแรกสุดเพื่อที่จะให้อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญจากหลายสาขาและมีประสบการณ์ได้ถ่ายทอดความรู้ของตนให้แก่นักศึกษา
และเพื่อให้นักศึกษาแต่ละคนนำความรู้ที่ได้รับจาก
อาจารย์ไปต่อยอดเป็นความรู้ของตนเอง นอกจากนี้สถาบันสอนศิลปะ Bauhaus เน้นในเรื่องของ การลงมือปฏิบัติด้วย Gropius การทำงานด้วยมือถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะจะทำให้นักศึกษาได้รับรู้ถึงการใช้วัสดุที่แท้จริง จึงทำให้ นักศึกษาของBauhaus นั้นเป็นผู้รู้ทางทฤษฏี และเป็นนักปฏิบัติไปพร้อมๆกัน

สถาบันศิลปะ Bauhausต้องการผลิตนักศึกษาผู้ซึ่งมีความรู้ในด้านศิลปะและเชิงช่างอย่างรอบด้านด้วยเหตุนี้นักศึกษาจึงไม่ได้ถูก
คาดหวังให้เป็นสถาปนิกแต่ต้องการให้มีความรู้พื้นฐานของศิลปะโครงสร้าง (Construction Art ) อีกส่วนหนึ่งที่ถือว่าสำคัญก็คือการให้อิสระแก่นักศึกษา
ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาหลุดออกไปจากกรอบเดิมๆ กล้าที่จะคิดรูปทรงใหม่ๆเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงสิ่งต่างๆในสังคมให้ร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น


จุดสิ้นสุดของสถาบันศิลปะเบาเฮาส์

ถึงแม้ว่าสถาบันศิลปะ Bauhausจะมีการเรียนการสอนที่ล้ำหน้ามากกว่าที่อื่นในช่วงนั้นนับจากแนวคิดของผู้ก่อตั้งอาจารย์ผู้สอน
และการเรียนการสอนของนักศึกษา แต่สถาบันแห่งนี้กลับต้องยุติบทบาทเน
ื่องมาจากสาเหตุทางการเมืองในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างแนวคิดอณุรักษ์นิยมกับสังคมนิยม โดยรัฐบาลและประชาชนที่ไปยังมีแนวคิดแบบอณุรักษ์นิยม เมื่อมีความขัดแย้งกันมากขึ้น Gropius จึงได้ถูกบีบบังคับให้ลาออกจากสถาบันศิลปะ Bauhaus ที่เมือง ไวมาร์ ลงในปี 1924 การปิดของสถาบันนี้น่าแปลกที่กลับได้รับการตอบรับในแง่บวกจากเมืองสำคัญต่างๆในเยอรมันซึ่งสนใจที่จะนำสถาบันศิลปะ Bauhaus มาสร้างในเมืองของตนแต่แล้วคนที่ได้ไปก็คือนายกเทศมนตรีจากเมือง เดลซาและได้เปิดสถาบันศิลปะ Bauhaus ขึ้นจนเมื่อปี 1928 Gropius จึงได้ขอลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการอีกครั้งและแต่งตั้งคนอื่นขึ้นมาดูแทน ในทศวรรษที่1930 พรรคนาซีเยอรมันๆได้ประสบชัยชนะทางการเมืองทำให้ Bauhaus ต้องย้ายไปอยู่ที่กรุง เบอร์ลิน และถูกปิดอย่างเด็ดขาดในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนเดียวทีก่อตั้งสถาบันขึ้นมา แม้ว่า Bauhaus จะถูกปิดตัวลงในเยอรมันนีแต่บทเรียนรวมทั้งวิธีการสอนกลับมีการแพร่ขยายออกไปและมีอิทธิพลต่อ
โรงเรียนสอนศิลปะทั่วโลกทั้งในยุโรปและอเมริกา

---------------------------------------------------------------------------------


เอาหล่ะมาม๊ะจะพูดให้ฟังง่ายๆ คือไอ้เบาส์เฮ้าส์เนี่ยเป็นสถาบันศึกษาทางด้านศิลปะและการออกแบบในประเทศเยอรมันนี โดยเจ้าคนก่อตั้ง ( Walter Gropius )เนี่ยมันมีหัวคิดที่ค่อนข้างจะทันสมัย และคิดแบบสังคมนิยม แถมเจ้าตัวยังเป็นสถาปานิกชื่อดังอีกตะหาก ทําให้สร้างสถาบันนี้โดยเน้นให้เรียนรู้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ด้านวัสดุ ทฤษฏีต่างๆ คือถ้ามาเรียนก็เรียนรู้และลงมือทําจริง โดยงานของสถาบันนี้จะออกมาให้รูปแบบ ที่มีความละไม้คล้ายคลึงกับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม โดยจะชอบทํางานออกมาในรูปแบบของเลขาคณิต เรียกได้ว่าทํากันทั้งโรงเรียน เอาแบบเข้าเส้นกันไปเลย โดยเจ้าคนต่อตั้งบอกว่า ต้องการให้อิสระแก่นักศึกษา ( แต่เดี๋ยวดูงาน โครตจะไม่อิสระเลย ) นอกจากนี้ยังไม่พอมีการชักชวนก๊วนเพื่อนเข้าเส้นทางเลขาคณิตมาร่วมแก๊งด้วย ทําให้โรงเรียนนี้กลายเป็นแหล่งสุมหัวของ นักออกหัวก้าวหน้าทุกสาขาที่มีความรักใคร่และผูกพันกับคุณเรขาคณิต หนึ่งในก๊วนนี้มีศิลปิน คนโปรดของผมคือ คุณลุง Kandinsky เอาหล่ะ มาดูงานของก๊วนนี้ดีกว่าว่าจะมีอะไรบ้าง
เยส เลส สะ โก นาวววว !!


---------------------------------------------------------------------------------





ไม่มีความคิดเห็น: