11/25/2550

ประเด็นที่น่าสนใจและน่าเอาใจใส่ดูแลของเรขาคณิต

หลังจากที่ได้ศึกษาและสนใจเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิต ก็เลยเดินไปที่ห้องสมุดดูเพื่อหาข้อมูลที่น่าสนใจ มาเติมในสมอง
น้อยๆอันนี้ ก็เลยเจอหนังสือเรขาคณิตที่เกี่ยวข้องกับทางคณิตศาสตร์(ซึ่งเป็นวิชาที่ผมไม่ถนัดอย่างจริงแท้)
และก็เจอหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีของเบาเฮ้าส์อีกเล่ม ซึ่งพอมาเปิดดูรูป และอ่านตรงที่สามารถอ่านได้โดย
ไม่ต้องไปเบียดเบียน พจนาณุกรมภาษาอังกฤษก็ เจอสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง ซึ่งเมื่อมารวมกับสิ่งที่เราสงสัย
และ ตะขิดตะขวงใจก็น่าจะพอทําอะไรได้บ้าง สําหรับคนที่ยังไม่ได้อ่านตอนก้าวสู่สังเวียนแนะนําให้ไปอ่านก่อน
ก็จะพบว่า เรขาคณิตมีแบบแผนและนํามาย่อยใช้ได้ ง่ายกว่ารูปทรงที่ไม่มีแบบแผน
แต่สําหรับด้านความสวยงามและความแปลกใหม่นั้นหลายๆคนกลับมองมันว่าน่าเบื่อ ผมจึงคิดว่า
เออ..ถ้าเรานํารูปทรงเหล่านี้มาทําให้น่าสนใจหล่ะ
โดยที่มันยังคงเรื่องการสื่อสารที่ชัดเจนไว้ ก็น่าจะเป็นอะไรที่น่าสนใจและใช้งานได้จริง



จากภาพข้างบนจะเห็นได้ว่าเราสามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าว่าในภาพต่อๆไปจะเกิดอะไรขึ้นนั้นเพราะเรขาคณิตเป็นสิ่งที่เราเคย
เรียนรู้มาก่อนเมื่อวัยเยาว์และมันก็มีแบบแผนที่ชัดเจนยิ่งกว่าสัญญาณgsmซะอีก





หรือภาพนี้ใช้ทฤษฎีของปิทากอรัสก็สามารถสร้างภาพเรขาคณิตที่มีความซับซ้อนและมีเหตุผลทางทฤษฎีมารองรับอีกด้วย
ซึ่งน่าสนใจมากที่เดียวกระเทียมเจียวเลยแหละ นอกจากนั้นภาพที่ได้มายังมีการทับซ้อนโดยไม่ถมสีลงไปเหมือนกับการโชว์วัสดุในการทํา
ถ้าเป็นงานสถาปานิกก็เหมือนกับงานปูนเปือยในสมัยนี้นั้นเอง ที่เน้นการโชว์โครงสร้างโดยไม่ปิดบัง



ภาพนี้เป็นทฤษฎีการสะท้อนของเรขาคณิตโดยที่ภาพในกระจกและข้างนอกจะมีการขนานและตั้งฉากกัน
และยังสามารถสร้างภาพที่สวยงามได้อีกด้วยแฮะ



การสร้างเรขาคณิตอาจจะไม่ได้จํากัดด้วยวิธีเขียนหรือสร้างดังนั้นหากนําวิธีที่น่าสนใจมาใช้ในการทํางานกับมัน
ก็น่าจะทําให้เกิดความน่าสนใจได้อีกด้วย อย่างข้างบนนี่ก็จะเป็นวิธีใช้การเจาะกระดาษในการสร้างรูปทรง



ภาพด้านบนยังมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการนําสิ่งที่สมัยก่อนว่ากันว่าสวยงามจําพวกของย้วยๆแนวๆ artdeco
กับสิ่งที่นักออกแบบรุ่นใหญ่สมัยนี้เห้นว่ามันสมบูรณ์แบบ เช่น Helvetica ถ้านําสองสิ่งจากทั้งสอง
สมัยมารวมกันก็น่าจะทําให้เกิดความขัดแย้งแบบแปลกๆขึ้นมา

อย่างป้ายจราจรที่ถือว่าเน้นเรื่องการสื่อสารเป็นหลักก็นิยมใช้เรขาคณิตในการสื่อสาร ซึ่งมันก้น่าจะสื่อสารได้ดีจริงๆ
แต่ถ้าเราเพิ่มความน่าสนใจให้กับมันหล่ะ ก็น่าจะดีกว่าการสื้อสารแบบทั่วๆไปใช่ไหม



(อ้างอิง หนังสือ เรขาคณิต ของ สอวท)

ไม่มีความคิดเห็น: